วงเครื่องสาย
ใช้เครื่องเครื่องสายในการบรรเลงเป็นหลักคือ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เป็นวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้บรรเลงในอาคารหรือบริเวณที่มีสถานที่จำกัด มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงดังนี้
1. ซอด้วง
2. จะเข้
3. ซออู้
4. ขลุ่ยเพียงออ
5. ฉิ่ง
6. โทน-รำมะนา
วงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดจากวงเครื่องสายประสมกับวงกลองแขก เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะของวงเครื่องสายปี่ชวามีดังนี้
- เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะตั้งเสียงให้เท่ากับเสียงปี่ชวา
- ใช้กลองแขกแทนโทนและรำมะนา
- ใช้ขลุ่ยลิบแทนขลุ่ยเพียงออ
การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีต้องมีไหวพริบปฏิภาณดี โดยเฉพาะคนตีฉิ่งต้องมีสมาธิดีที่สุด จึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ ในปัจจุบันหาดูได้ยากมากมีอยู่2 ประเภคคือ เครื่องสายปี่ชวาเดี่ยว วงเครื่องสายปี่ชวาคู่ เป็นต้น
เครื่องสายวงเล็ก
เครื่องสายวงเล็ก มีเครื่องดนตรีผสมในวง และมีหน้าที่ต่างๆ กันคือ
๑. ซอด้วง สีเป็นทำนองเพลงมีถี่บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
๒. ซออู้ สีหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
๓. จะเข้ ดีดเก็บถี่ๆ บ้าง ห่างๆ บ้าง สอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะ
๔. ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง ดำเนินทำนองเพลง
๕. โทน ตีให้สอดสลับกับรำมะนา กำกับจังหวะหน้าทับ
๖. รำมะนา ตีให้สอดสลับกับโทน กำกับจังหวะหน้าทับ
โทนกับรำมะนานี้ ต้องตีให้สอดคล้องกัน เหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นบางทีจึงใช้คนเดียวตีทั้งสองอย่าง
๗. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
ขอขอบคุณที่มาจาก www.google.co.th๑. ซอด้วง สีเป็นทำนองเพลงมีถี่บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
๒. ซออู้ สีหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
๓. จะเข้ ดีดเก็บถี่ๆ บ้าง ห่างๆ บ้าง สอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะ
๔. ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง ดำเนินทำนองเพลง
๕. โทน ตีให้สอดสลับกับรำมะนา กำกับจังหวะหน้าทับ
๖. รำมะนา ตีให้สอดสลับกับโทน กำกับจังหวะหน้าทับ
โทนกับรำมะนานี้ ต้องตีให้สอดคล้องกัน เหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นบางทีจึงใช้คนเดียวตีทั้งสองอย่าง
๗. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น