วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่ เป็นต้น
วงมโหรีเครื่องสี่
วงมโหรีเครื่องสี เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
- โทน
- ซอสามสาย
- กระจับปี่
- กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตี)
วงมโหรีเครื่องหก
วงมโหรีเครื่องหก ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ รำมะนาและขลุ่ยเพียงออ
วงมโหรีเครื่องเดี่ยว
วงมโหรีเครื่องเดี่ยว เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระยะแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ในระยะหลังได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ เปลี่ยนกระจับปี่เป็นจะเข้
วงมโหรีเครื่องเล็ก
วงมโหรีเครื่องเล็ก คือวงปี่พาทย์เครื่องห้าประสมกับวงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย ดังนี้
1. ซอสามสาย
2. ซอด้วง
3. ซออู้
4. จะเข้
5. ขลุ่ยเพียงออ
6. ระนาดเอก ( ย่อขนาด )
7. ฆ้องกลาง หรือ ฆ้องมโหรี
8. โทน
9. รัมนา
10. ฉิ่ง
1. ซอสามสาย
2. ซอด้วง
3. ซออู้
4. จะเข้
5. ขลุ่ยเพียงออ
6. ระนาดเอก ( ย่อขนาด )
7. ฆ้องกลาง หรือ ฆ้องมโหรี
8. โทน
9. รัมนา
10. ฉิ่ง
วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีเครื่องคู้ เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลิบ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และซอสามสายหลิบอย่างละหนึ่ง
ขอขอบคุณที่มาจาก www.google.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น