วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติคีตกวีไทย


พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)






     พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา(ทองดี) กับนางนิ่ม เกิดเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพฯ   
     การศึกษาวิชาดนตรีไทย ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอก นั้นได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์) จนบรรลุความแตกฉานเป็นเอตทัคคะทางดุริยางคศิลป์อย่างยอดเยี่ยมต่อมา
     หน้าที่การงานของท่านเริ่มด้วยการเข้ารับราชการครั้งแรกในกระทรวงนครบาล เป็นหมื่นทรงนรินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ แต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออก ครั้นต่อมาภายหลัง เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ มีพระประสงค์ให้นักดนตรีของวัดน้อยทองอยู่ซึ่งมีครูช้อย สุนทรวาทินเป็นครู มีนายแปลก (พระยาประสานดุริยศัพท์) กับนายแช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์) เป็นศิษย์เอก เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเรือนนอกท่านจึงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง ล่วงมาจนถึงพ.ศ.๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระยศเป็นพระยุพราชได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้นายแปลกเป็นที่ “ขุนประสานดุริยศัพท์” นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็น “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๘ เรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
     งานคีตนิพนธ์ของท่านอาทิ เช่น เชิดจีน ๓ ชั้น พม่าห้าท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงพระดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร ถอนสมอ แขกเชิญเจ้า เป็นต้น
     ในด้านชีวิตครอบครัวท่านสมรสกับนางสาวพยอม ชาวจังหวัดราชบุรี มีบุตรธิดาทั้งสิ้น ๑๑ คน ท่านล้มป่วยด้วยโรคชราและถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๖๗ สิริอายุได้ ๖๕ ปี




 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงป็นพระราชโอรสองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๖ เมื่อพระชันษาได้ ๕ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาก็สวรรคตจึงทรงพระเจริญพระชนมายุมาในพระราชอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐา(ต่างพระมารดา)โดยทรงมีพระชันษาอ่อนกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราว ๑๐ ปี     สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ ทรงมีพระปรีชาสามารถในงานศิลปะทุกแขนง เช่น งานช่าง อักษรศาสตร์ การประพันธ์ฉันทลักษณ์ สถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม จิตรกรรม ดุริยศิลป์ นาฏศิลป์ ตลอดจนถึงการนิพนธ์บทละครทุกประเภท การจัดการแสดง การทำฉากละคร จนถึงการแต่งหน้าและท่ารำทุกกระบวนทรงรอบรู้หมดสิ้นเหลือที่จะพรรณนาได้
     ในด้านการดนตรีนั้นทรงสนพระทัยมาตั้งแต่ยังมีพระชนมายุไม่ถึง ๑๐ พรรษา ทรงเริ่มเรียนดนตรีจากครูถึก ดุริยางกูร(บุตรของพระประดิษฐไพเราะ ครูมีแขก)แล้วทรงเรียนกับท่านขุนเณร เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้ทรงเรียนเพลงหน้าพาทย์ และเพลงเรื่องต่างๆจากพระประดิษฐไพเราะ(ตาด)ซึ่งเรียนอยู่นานที่สุดและใกล้ชิดกันมากที่สุด เมื่อทรงเข้าโรงเรียนทหารมหาดเล็กทรงหัดเป่าฟลุ้ทกับครูฝรั่ง(ไม่ปรากฏนาม)รวมทั้งเรียนโน้ตสากลด้วย ปรากฏว่าทรงอ่านและเขียนโน้ตสากลได้ดีมากตั้งแต่มีพระชนมายุ ๒๒ ชันษา
     เพลงที่พระองค์ท่านทรงพระนิพนธ์ไว้อาทิเช่น เพลงเขมรไทรโยคสามชั้น   เพลงช้าประสม   เพลงตับแม่ศรีทรงเครื่อง    เพลงปลาทองสามชั้น ตลอดจนทรงมีส่วนร่วมในการก่อกำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี มาตั้งแต่ต้น และบทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีปัจจุบัน ก็เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน
     สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯทรงเสกสมรสครั้งแรกด้วย ม.ร.ว.ปลื้ม ทรงมีพระธิดาพระองค์เดียวคือ ม.จ.หญิงปลื้มจิตร(เอื้อย) จิตรพงศ์ ต่อมาทรงเสกสมรสครั้งที่ ๒ ด้วยหม่อมมาลัย มีพระโอรส ๒ พระองค์ คือหม่อมเจ้าชายอ้าย(สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)และหม่อมเจ้าชายยี่ ทรงพระนามว่า ม.จ.เจริญใจ จิตรพงศ์ และทรงเสกสมรสครั้งที่ ๓ ด้วย ม.ร.ว.โตงอนรถ มีพระราชโอรสธิดา 6 พระองค์
     สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯสิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๕ น.




พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)




 

     พระประดิษฐไพเราะ นามเดิม มี ดุริยางกูร เกิดตอนปลายรัชกาลที่ 1 แห่งพระราชวงศ์จักรี ท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระ
     พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งสิ้น ผลงานของพระประดิษฐไพเราะ(ครูมีแขก) เท่าที่รวบรวมและปรากฏไว้ มีดังนี้ โหมโรงขวัญเมือง การะเวกเล็กสามชั้น กำสรวลสุรางค์สามชั้น แขกบรเทศสามชั้น และผลงานอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ท่านถึงแก่กรรม ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5



ขอขอบคุณ  http://guru.sanook.com/pedia/topic/

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย
ใช้เครื่องเครื่องสายในการบรรเลงเป็นหลักคือ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว


วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เป็นวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้บรรเลงในอาคารหรือบริเวณที่มีสถานที่จำกัด มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงดังนี้
1.       ซอด้วง
2.       จะเข้
3.       ซออู้
4.       ขลุ่ยเพียงออ
5.       ฉิ่ง
6.       โทน-รำมะนา
วงเครื่องสายปี่ชวา


วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดจากวงเครื่องสายประสมกับวงกลองแขก เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะของวงเครื่องสายปี่ชวามีดังนี้
  • เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะตั้งเสียงให้เท่ากับเสียงปี่ชวา
  • ใช้กลองแขกแทนโทนและรำมะนา
  • ใช้ขลุ่ยลิบแทนขลุ่ยเพียงออ
การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีต้องมีไหวพริบปฏิภาณดี โดยเฉพาะคนตีฉิ่งต้องมีสมาธิดีที่สุด จึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ ในปัจจุบันหาดูได้ยากมากมีอยู่2 ประเภคคือ เครื่องสายปี่ชวาเดี่ยว วงเครื่องสายปี่ชวาคู่ เป็นต้น
เครื่องสายวงเล็ก


เครื่องสายวงเล็ก มีเครื่องดนตรีผสมในวง และมีหน้าที่ต่างๆ กันคือ
          ๑. ซอด้วง สีเป็นทำนองเพลงมีถี่บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
          ๒. ซออู้ สีหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
          ๓. จะเข้ ดีดเก็บถี่ๆ บ้าง ห่างๆ บ้าง สอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะ
          ๔. ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง ดำเนินทำนองเพลง
          ๕. โทน ตีให้สอดสลับกับรำมะนา กำกับจังหวะหน้าทับ
          ๖. รำมะนา ตีให้สอดสลับกับโทน กำกับจังหวะหน้าทับ
          โทนกับรำมะนานี้ ต้องตีให้สอดคล้องกัน เหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นบางทีจึงใช้คนเดียวตีทั้งสองอย่าง
          ๗. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
ขอขอบคุณที่มาจาก www.google.co.th

                              www.wikipedia.org

                              http://guru.sanook.com/

วงมโหรี

วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่ เป็นต้น

วงมโหรีเครื่องสี่



         วงมโหรีเครื่องสี เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
  • โทน
  • ซอสามสาย
  • กระจับปี่
  • กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตี)

วงมโหรีเครื่องหก



วงมโหรีเครื่องหก ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ รำมะนาและขลุ่ยเพียงออ

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว



วงมโหรีเครื่องเดี่ยว เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระยะแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ในระยะหลังได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ เปลี่ยนกระจับปี่เป็นจะเข้

วงมโหรีเครื่องเล็ก

วงมโหรีเครื่องเล็ก  คือวงปี่พาทย์เครื่องห้าประสมกับวงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย ดังนี้
                  1.  ซอสามสาย                  
                  2.  ซอด้วง                
                  3.  ซออู้                 
                  4.  จะเข้                 
                  5.  ขลุ่ยเพียงออ              
                  6.  ระนาดเอก  ( ย่อขนาด )         
                  7.  ฆ้องกลาง หรือ ฆ้องมโหรี       
                  8.  โทน               
                  9.  รัมนา                 
                10.  ฉิ่ง                     

วงมโหรีเครื่องคู่



วงมโหรีเครื่องคู้ เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลิบ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และซอสามสายหลิบอย่างละหนึ่ง

ขอขอบคุณที่มาจาก  www.google.co.th
                    www.wikipedia.org
                   http://guru.sanook.com/

วงปี่พาทย์

ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นต้น
วงปี่พาทย์ เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี และพิธีต่างๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ

วงปี่พาทย์เครื่องสิบ
        วงปี่พาทย์เครื่องสิบ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด วงปี่พาทย์เครื่องห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
1.       ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และฉิ่ง
2.       ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และทับหรือโทน
วงปี่พาทย์เครื่องคู่


              วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องห้า เพียงแต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าไป
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่


วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพียงแต่เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้าไป

วงปี่พากย์เพิ่มเติม
วงปี่พาทย์นางหงส์


                วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
- ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด(บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)
- ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน
- เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว
เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตาม ชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญแทน
วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ

วงปี่พาทย์มอญ


                วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่มาพร้องกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และฆ้องราว
วงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งของไทย ดังนี้
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยระนาดเอก ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะคือฉิ่งและ
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เพียงแต่วงนี้ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็กเข้ามา
- วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่ได้เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้ามา
วงปี่พาทย์มอญมีการจัดรูปแบบวงที่แตกต่างจากวงปีพาทย์ของไทยตรงที่ตั้งฆ้องมอญไว้ ด้านหน้าสุด ซึ่งการจัดรูปแบบวงนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าใครกำหนดและทำเพื่ออะไร บ้างก็ว่าเพื่อความสวยงามเมื่อมองจากด้านหน้า บ้างก็ว่าเป็นการให้เกียรติวัฒนธรรมมอญ บ้างก็ว่าเป็นเพราะฆ้องมอญทำหน้าขึ้นวรรคเพลงเช่นเดียวกับระนาดเอก

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์


    วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นั่นเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับอิทธิพลจากละครโอเปร่าของยุโรป ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ร่วม กันปรับปรุงขึ้น เหตุที่มีชื่อว่าดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ก็เลยเรียกเรียกวงดนตรีนี้ตามชื่อของโรงละคร   
ขอขอบคุณ  www.google.co.th
               www.wikipedia.org

               http://guru.sanook.com/

ประเภทวงดนตรีไทย

ประเภทวงดนตรีไทย
 ประเภทของวงดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วงเครื่องสาย
2. วงปี่พาทย์
3. วงมโหรี
วงเครื่องสาย มีลักษณะเด่นชัด คือใช้เครื่องดนตรีมีสาย อันมีเครื่องดีด และเครื่องสี เป็นประธานของวง พระเอกในวงได้แก่ ซอด้วง แบ่งออกเป็นเคร่องสายวงเล็ก เครื่องสายเครื่องคู่ เครื่องสายผสม เครื่องใหญ่หรือวงใหญ่
วงปี่พาทย์ ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องกำกับจังหวะ แบ่งเป็นปี่พาทย์ไม้แข็ง ปี่พาทย์ไม้นวม แบ่งตามลักษณะไม้ที่ใช้ตี
  - ปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้ตีก็จะแข็งมาก ตีดังแน่นและไกล
  - ปี่พาทย์ไม้นวม ไม้ตีจะหุ้มผ้า ให้อ่อนนุ่ม ตีดังเสียงนุ่มๆ ทุ้มๆ ดังไม่ไกลนัก มักเป็นของผู้ชายเล่น
มโหรี ดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดีดสีตีเป่าเข้ารวมกันหมด แต่รู้สึกว่าจะขนาดเล็กกว่าพวกเครื่องสายและปี่พาทย์ แรกๆผู้ชายเล่น ต่อมาในสมัยอยุธยาใช้ผู้หญิงเล่น และเล่นเรื่อยมา พอขึ้นชื่อว่ามโหรี เรามักรู้ได้ทันทีว่าเป็นของผู้หญิงเล่น
ขอขอบคุณที่มาจาก www.google.co.th       
                              www.wikipedia.org       
                              http://guru.sanook.com/

ตัวอย่างเครื่องดนตรีประเภทเป่า

ขลุ่ย


ปี่

ขลุ่ยเพียงออ

ตัวอย่างเครื่องดนตรีประเภทตี

ระนาด


ตะโพน


กลองเพล หรือ กลองศึก

ขอขอบคุณ http://www.youtube.com/

ตัวอย่างเครื่องดนตรีประเภทดีด

จะเข้

กระจับปี่

พิณเปี๊ยะ


ขอขอบคุณ http://www.youtube.com/

ตัวอย่างเครื่องดนตรีประเภทสี

ซอด้วง

ซออู้





ซอสามสาย


ขอขอบคุณ http://www.youtube.com/

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ดนตรีคือ

“เครื่องดนตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลง
ซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง
เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และ
เป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ ศิลปวัฒนธรรม
ด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริมและรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป
ในเบื้องต้นนี้ เราควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทย อันอาจจะก่อให้เกิดความรักและ ความสนใจ
ดนตรีไทยขึ้นมาได้ ต่อไปนี้จะขอแนะนำให้รู้จักส่วนหนึ่งของ "ดนตรีไทย" คือ "เครื่องดนตรี

ประเภทสี

ประเภทเครื่องสี  
หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย
  ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี  เครื่องดนตรีประเภทนี้  ในวงการดนตรีไทยได้แก่                 1.  ซอด้วง                 2.  ซออู้                 3.  ซอสามสาย

ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก





ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม - หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชักทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐เส้น

3.ซออู้


ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น -ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน - หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง

ขอขอบคุณ http://www.bs.ac.th/musicthai/page2.html

ประเภทเป่า

เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น


๑. ขลุ่ย

ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้ ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้

- เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น - ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้
- รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป
- รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ
- รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
- รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
- รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ เสียงขลุ่ยเกิดจากเป่าลม และใช้นิ้วมือปิดเปิดรูบังคับเสียง

๒. ขลุ่ยกรวด



ขลุ่ยกรวด มีขนาดเล็กกว่า ขลุ่ยเพียงออ ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า ระดับเสียงของขลุ่ยเพียงอออยู่ ๑ เสียง

๓. ขลุ่ยนก



ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษ ทำขึ้นเพื่อ เสียงสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนก ใช้บรรเลง ประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการ ในการฟังเพลงได้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ ลิ้นปี่มาประกอบกับ ตัวขลุ่ยเพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้นิยมใช้บรรเลง เพลงตับนก และตับภุมรินทร์

๔. ขลุ่ยหลีบ



ขลุ่ยหลีบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า เสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ หรือขลุ่ยกรวด มีอยู่สองชนิด คือ ขลุ่ยหลีบเพียงออ และขลุ่ยหลีบกรวด

๕. ขลุ่ยอู้



ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ระดับเสียงต่ำสุด ต่ำกว่าระดับเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออ ลงไปอีก ๒ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

๖. ปี่

ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่ ใช้งา ชัน หรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมตอนหัว และตอนท้าย เรียกว่า "ทวน" ทางหัวเรียกว่า "ทวนบน" ทางท้ายเรียกว่า "ทวนล่าง" ช่วงที่ป่องกลาง เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียง เรียงลงมาตามข้างเลาปี่ จำนวน ๖ รู ที่รูเป่าตอนทวนบนใส่สิ้นสำหรับเป่าเรียกว่า ลิ้นปี่ ทำด้วยใบตาลซ้อน ๔ ชั้น ตัดกลมผูกติดกับท่อกลมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "กำพวด" ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเรียว วิธีผูกเชือกให้ลิ้นใบตาลติดกับกำพวดเรียกว่า "ผูกตะกรุดเบ็ด"

๗. ปี่ไฉน



ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา จ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา

ขอบคุณจาก      http://www.bs.ac.th/musicthai/page4.html4.html

ประเภทเครี่องตี

เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นประเภทเครื่องตีมีดังนี้









เครื่องตีทำด้วยไม้

เครื่องตีทำด้วยโลหะ

เครื่องตีทำด้วยหนัง

เครื่องตีทั้ง ๓ จำพวกนี้ จะกล่าวถึงแต่ละอย่างทั้งประเภทที่เข้าใจว่าไทยเราได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง และทั้งประเภทที่ได้รับแบบอย่างจากชาติอื่น แล้วนำมาใช้หรือแก้ไขดัดแปลงใช้อยู่ในวงดนตรีของไทย

ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก
 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบัน ระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมา
นานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ3000 ปีมีลักษณะเป็น
ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
 ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของ ขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหิน
ยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง สูงต่ำแตกต่างกันตาม ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศ เวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน 5 ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี 5 เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน
ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ใน
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้นสำหรับระนาดไม้นั้นน่าจะมีพัฒนาการมาจาก
กรับ หรือ โกร่ง
ซึ่งตามปกติใช้ ตีเพียง 2 ชิ้น แต่ได้มีการนำเอากรับซึ่งเป็นท่อนไม้สั้นๆจำนวนหลายชิ้นมาวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้ตีลงไป ทำให้เกิดทำนองสูงต่ำแตกต่างกันตามขนาดความ สั้น-ยาว และ ความ หนา-บาง ของวัตถุดังเช่นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซียหรือชาวพื้นเมืองในประเทศ แอริกา


ขอขอบคุณ http://www.bs.ac.th/musicthai/song.html